วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิดีโอข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒธรรม






                     วิดีโอข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒธรรม

วิดีโอข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร






                                   วิดีโอข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร

วิดีโอหลักการพัฒนาหลักสูตร




                            วิดีโอหลักการพัฒนาหลักสูตร

วิดีโอความหมาย องค์ประกอบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร





        วิดีโอความหมาย องค์ประกอบและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร

วิดีโออัปเดท ปี60 สรุปเนื้อหาสอบครูผู้ช่วย EP. 7 หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร #ภาค ข.







 วิดีโออัปเดท ปี60 สรุปเนื้อหาสอบครูผู้ช่วย EP. 7 หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร #ภาค ข.
                         

วิดีโอติวสอบครู @ หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร





            วิดีโอติวสอบครู @ หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร

แนวข้อสอบ หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร (หลักสูตร 51)







แนวข้อสอบ วิชาการศึกษา
แนวข้อสอบ หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร (หลักสูตร 51)
1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีจุดมุ่งหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. เพื่อเน้นการปฏิบัติตามสภาพจริง
ข. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ค. เพื่อตัดสินผลการเรียน
ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้ตัวชี้วัดใดเป็นเป้าหมาย
ก. ตัวชี้วัดชั้นปี
ข. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
ค. ตัวชี้วัดช่วงชั้นปี
ง. ตัวชี้วัดชั้นปีช่วงชั้น
3. ข้อใด ไม่ใช่ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
ก. ความสามารถในการสื่อสาร
ข. ความสามารถในการคิด
ค. ความสามารถในการใช้ชีวิต
ง. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ก. โครงสร้างเวลาเรียน
ข. คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ค. มาตรฐานการเรียนรู้
ง. เกณฑ์การจบหลักสูตร
5. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑
ก. รักชาติ ศาสนา กษัตริย์
ข. มุ่งมั่นในการเรียน
ค. มีวินัย
ง. รักความเป็นไทย
6. ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ก. หลักการของหลักสูตร
ข. สาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
ค. มาตรฐานการเรียนรู้
ง. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
7. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานคาดหวังสิ่งใดให้เกิดกับผู้เรียนมากที่สุด
ก. คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ข. การบูรณาการการเรียนรู้
ค. การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ง. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
8. การเรียนรู้แบบ BBL (Brain Based Learning) มีความหมาย ตรงกับข้อใด
ก. การเรียนรู้ที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง เพื่อกระตุ้นสมอง
ข. การเรียนรู้โดยใช้สมองซีกซ้าย เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสมอง
ค. การเรียนรู้โดยใช้สมองซีกขวา เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสมอง
ง. การเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมอง เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
9. สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย
ก. (K)ความรู้
ข. (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม
ค. (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ
ง. (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ , (N) ความรู้
10.สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฎิบัติได้ตรงกับข้อใด
ก. สาระการเรียนรู้
ข. มาตรฐานการเรียนรู้
ค. ตัวชี้วัด
ง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
11. มาตฐานการเรียนรู้ มีองค์ประกอบทั้งหมดกี่ส่วน
ก. มีองค์ประกอบทั้งหมด 1 ส่วน(K)ความรู้
ข. มีองค์ประกอบทั้งหมด 2 ส่วน (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม
ค. มีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ส่วน (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ
ง. มีองค์ประกอบทั้งหมด 4 ส่วน (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ , (N) ความรู้
12. ระดับการศึกษาภาคบังคับ ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้ตัวชี้วัดใดเป็นเป้าหมาย
ก. ตัวชี้วัดชั้นปี
ข. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
ค. ตัวชี้วัดช่วงชั้นปี
ง. ตัวชี้วัดชั้นปีช่วงชั้น
13. ข้อใดไม่ใช่ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง 51
ก. กิจกรรมแนะแนว
ข. กิจกรรมนักเรียน
ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ง. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
14. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับการจัดเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายปี
ข. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายภาค
ค. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายเทอม
ง. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายเทอม ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายภาค
15. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็นกี่ระดับ มีอะไรบ้าง
ก. แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ระดับชั้นเรียน , ระดับสถานศึกษา
ข. แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ระดับชั้นเรียน , ระดับสถานศึกษา , ระดับเขตพื้นที่การศึกษา , ระดับชาติ
ค. แบ่งออกเป็น 6 ระดับ ระดับชั้นเรียน , ระดับกลุ่มสาระ , ระดับสถานศึกษา , ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับชาติ , ระดับโลก
ง. แบ่งออกเป็น 8 ระดับ ระดับบุคคล , ระดับชั้นเรียน , ระดับกลุ่มสาระ , ระดับสถานศึกษา , ระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา , ระดับชาติ , ระดับโลก
16. ผู้เรียนอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่นำพาตนเองไปสู่เป้าหมาย เป็นการจัดการเรียนการสอนตรงกับข้อใด
ก. เป็นการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นที่ครูเป็นศูนย์กลาง
ข. เป็นการจัดการเรียนรู้ โดยมีโรงเรียนเป็นฐาน
ค. เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
ง. เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
17. ข้อใดไม่ใช่ การจัดระดับการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ระดับก่อนประถมศึกษา
ข. ระดับประถมศึกษา
ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
18. “ผู้สอนศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้สื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้” ข้อความข้างต้นนี้ตรงกับข้อใด
ก. กระบวนการออกแบบสื่อการเรียนรู้
ข. กระบวนการเรียนรู้
ค. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ง. การออกแบบการจัดการเรียนรู้
19. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่บนหลักการพื้นฐานใด
ก. ประเมินเพื่อประกอบพิจารณาความดีความชอบของครู
ข. ประเมินเพื่อการตัดเกรด
ค. ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และตัดสินผลการเรียน
ง. ประเมินเพื่อวางแผนทำวิจัยในชั้นเรียน
20. เครื่องมือสำคัญในข้อใด ที่ส่งเสริมสนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตร
ก. สื่อการเรียนรู้
ข. ผู้ปกครองและชุมชน
ค. การวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ
ง. เทคนิคและวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้

ที่มา : https://www.kruchiangrai.net/2016/06/02/%E0

แนวข้อสอบหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร ใหม่ล่าสุด 50 ข้อ



แนวข้อสอบหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร ใหม่ล่าสุด 50 ข้อ
1. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของหลักสูตรได้ถูกต้อง
ก. ความรู้ ทักษะ กระบวนการที่จัดให้ผู้เรียน
ข. ความรู้ทั้งมวลที่จัดให้ผู้เรียน
ค. ประสบการณ์ทั้งมวลที่จัดให้ผู้เรียน
ง. ประสบการณ์จากครูผู้สอนที่ถ่ายทอดให้ผู้เรียน
2. ขั้นตอนแรกของการพัฒนาหลักสูตรคือ
ก. การนำหลักสูตรไปใช้
ข. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ค. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ง. การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์เรียนรู้
3. บุคคลในข้อใดมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร
ก. ผู้บริหาร
ข. ครู
ค. ชุมชน
ง. ถูกทุกข้อ
4. ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาหลักสูตรคือ
ก. การนำหลักสูตรไปใช้
ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย
ค. การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
ง. ประเมินหลักสูตร
5. เน้นครูเป็นศูนย์กลาง เน้นสอนแบบบรรยาย วิชาที่เน้นคือ อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
ก. สารัตถนิยม(Essentialism)
ข. นิรันตรนิยม (Perenialism)
ค. อัตถิภาวนิยม (Existentialism)
ง. ปฏิรูปนิยม/บรูณาการ (Reconstructionism)
6. หลักสูตรเน้นเนื้อหา เหตุผลและสติปัญญา
ก. สารัตถนิยม(Essentialism)
ข. นิรันตรนิยม (Perenialism)
ค. อัตถิภาวนิยม (Existentialism)
ง. ปฏิรูปนิยม/บรูณาการ (Reconstructionism)
7. เน้นการเรียนรู้ที่ลงมือปฏิบัติจริง
ก. สารัตถนิยม(Essentialism)
ข. พิพัฒนนิยม หรือวิวัฒนาการนิยม (Progressivism)
ค. นิรันตรนิยม (Perenialism)
ง. อัตถิภาวนิยม (Existentialism)
8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
ก. วิสัยทัศน์ สมรรถนะ จุดมุ่งหมาย หลักการ
ข. วิสัยทัศน์ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะ
ค. จุดมุ่งหมาย หลักการ สมรรถนะ วิสัยทัศน์
ง. จุดมุ่งหมาย หลักการ วิสัยทัศน์ สมรรถนะ
9. ข้อใดอธิบายคำว่า”หลักสูตรเปรียบเสมือนเข็มทิศที่ใช้ในการจัดการศึกษา”ได้ถูกต้องที่สุด
ก. เพื่อให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ครบกระบวนการและมีประสิทธิภาพ
ข. เพื่อพัฒนาไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร
ค. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทั้งในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่างๆ อันพึ่งประสงค์
ง. เพื่อนให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติที่ต้องการให้หลักสูตรช่วยพัฒนาบุคคลต่างๆให้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถและพัฒนาการในทุกๆด้าน
10. ทุกข้อคือการพัฒนาหลักสูตร แบ่งได้เป็น4 ระดับ ยกเว้นข้อใด
ก. การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติ
ข. การพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น
ค. การพัฒนาหลักสูตรระดับเขตพื้นที่
ง. การพัฒนาหลักสูตรระดับห้องเรียน
11. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึ่งประสงค์
ข. มีความรู้ รักชาติ อนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
ค. ความสามารถในการสื่อสาร การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิตและอนุรักษ์วัฒนธรรม
ง. ความสามารถในการสื่อสาร การคิด แก้ปัญหา การใช้ทักษะสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี
12. คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ข้อแรกที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือข้อใด
ก. วินัย ข. .ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ค. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ง. อยู่พอเพียง
13. วิสัยทัศนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ
ข. ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ค. ทุกคนได้รับเงินอุดหนุนอย่างเท่าเทียมกัน
ง. ทุกคนเป็นพลเมืองดีของสังคม
14. กิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา คือกิจกรรมในข้อใด
ก. กิจกรรมแนะแนว ข. กิจกรรมนักเรียน ค. กิจกรรมบำเพ็ญตน ง. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
15. ข้อใดกล่าวถูกต้อง กิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
ก. กิจกรรมแนะแนว ข. กิจกรรมนักเรียน ค. กิจกรรมบำเพ็ญตน ง. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
16. เน้นการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะเฉพาะด้าน เป็นหลักการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางฯ ระดับใด
ก. ระดับก่อนประถมศึกษา
ข. ระดับประถมศึกษา
ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
17. เน้นทักษะ ด้านการอ่าน เขียน คิดคำนวณ เป็นหลักการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนแกนกลางฯ ระดับใด
ก. ระดับก่อนประถมศึกษา
ข. ระดับประถมศึกษา
ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
18. การจัดเวลาเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 ในระดับ ประถมศึกษากำหนดจัดอย่างไร
ก. กำหนดเป็นรายเดือน
ข. กำหนดเป็นรายภาค
ค. กำหนดเป็นรายปี
ง. กำหนดตามครูผู้สอน
19. การพิจารณาให้นักเรียนซ้ำชั้น ต้องคำนึงถึงนักเรียนด้านใดเป็นสำคัญ
ก. อายุ ข. วุฒิภาวะและสมอง ค.วุฒิภาวะและความรู้ความสามารถ ง. ร่างกายและสมอง
20. แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา หมายถึง แบบ (ปพ.) ใด
ก. ปพ.1
ข. ปพ.2
ค. ปพ.3
ง. ปพ.4
21. ผู้ลงนามประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือใคร
ก. สพฐ ข. คณะรัฐมนตรี ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ง. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
22. ครูท่านใดทำตามบทบาทของครูผู้สอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ครูยุพานำนักเรียนเข้าไปศึกษาการทำกระเป๋าผ้าจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
ข. ครูชวัลย์จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
ค. ครูสมพรตั้งคำถามในบทเรียนและให้นักเรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง
ง. ครูธิดานำความรู้จากการที่ตนเองไปอบรมมานำไปประยุกต์ใช้กับวิชาภาษาไทยที่ตนเองสอน
23. เด็กหญิงสุรีย์ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สอบปลายภาคเรียนที่ 2 ไม่ผ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จะได้เลื่อนไปชั้นเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ได้ เพราะ ไม่ผ่านเพียงเล็กน้อย
ข. ได้ เพราะ สามารถซ่อมเสริมในปีต่อไปได้
ค. ไม่ได้ เพราะ เกรดเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์
ง. ไม่ได้ เพราะ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
24. เด็กชายอานนท์ มีระดับผลการเรียน B+ แสดงว่าทำคะแนนในระบบร้อยละได้อยู่ในเกณฑ์เท่าไร
ก. 70-74
ข. 74-80
ค. 75-79
ง. 75-80
25. เด็กหญิงชมพูนุช เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนั้นเด็กหญิงชมพูนุชเรียนวันละกี่ชั่วโมง
ก. ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
ข. ไม่เกิน 5 ชั่วโมง
ค. ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
ง. ไม่เกิน 7 ชั่วโมง
26. การเก็บข้อมูลนักเรียนเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินผลการเรียน มีวีการอย่างไรจึงเหมาะสมที่สุด
ก. เก็บข้อมูลบางด้าน บางโอกาส
ข. เลือกเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นและทดสอบเป็นระยะ
ค. เลือกเก็บข้อมูลทุกด้านตามตัวชี้วัดและเก็บข้อมูลทุกเดือน
ง. เลือกเก็บข้อมูลทุกด้านและต่อเนื่องในแต่ละภาค
27. ครูผู้สอนควรใช้เทคนิคการประเมินผลนักเรียนในระดับชั้นเรียนอย่างไรจึงเหมาะสม
ก. ประเมินด้วยการสังเกต
ข. ประเมินด้วยการสอบ
ค. ประเมินด้วยการวัดเจตคติ
ง. ประเมินอย่างหลากหลาย
28. เด็กในข้อใดต้องเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ
ก. เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 6 – เด็กที่มีอายุย่างเข้า 16
ข. เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 – เด็กที่มีอายุย่างเข้า 16
ค. เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 8 – เด็กที่มีอายุย่างเข้า 16
ง. เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 9 – เด็กที่มีอายุย่างเข้า 16
29. การศึกษาภาคบังคับมีจำนวนกี่ปี
ก. จำนวน 9 ปี
ข. จำนวนไม่น้อยกว่า 9 ปี
ค. จำนวน 12 ปี
ง. จำนวนไม่น้อยกว่า 12 ปี
30. ระดับผลการประเมินข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. รายวิชาพื้นฐาน มีระดับผลการประเมินเป็น ยอดเยี่ยม ปานกลาง ควรปรับปรุง
ข. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีระดับผลการประเมินเป็น ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน
ค. การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มีระดับผลการประเมินเป็น ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน
ง. คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ มีระดับผลการประเมินเป็น ดีเยี่ยม ดี ผ่าน
31. “มาตรฐานการเรียนรู้” มีความสำคัญโดยตรงต่อสถานศึกษาและผู้ปกครองอย่างไร
ก. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วยให้ทราบถึงสิ่งที่ต้องรู้ และปฏิบัติได้
ข. มาตรฐานการเรียนรู้เป็นกรอบและแนวทางในการสร้างหลักสูตร
ค. มาตรฐานการเรียนรู้เป็นสื่อกลางในการรายงานผลการเรียนรู้
ง. การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วยให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาผู้เรียน
32. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของหลักสูตรอิงมาตรฐาน
ก. มาตรฐานเป็นจุดเน้นของการพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงกับมาตรฐาน
ข. องค์ประกอบของหลักสูตรเชื่อมโยงกับมาตรฐาน
ค. การประเมินผลสะท้อนมาตรฐานอย่างชัดเจน
ง. การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้คือหัวใจของหลักสูตร
33.ผู้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นคือ
ก. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. สถานศึกษา
ค. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ก.ศ.จ.
34. ผู้จัดทำกรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่น คือ
ก. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. สถานศึกษา
ค. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ก.ศ.จ.
35. ครอบครัวของคุณสมศรีต้องการจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใครเป็นผู้อนุญาต
ก. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ค. ก.ศ.จ.
ง. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
36. คุณอมรต้องการจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่บ้าน (Home school)
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ก.ศ.จ.
ง. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
37. ผู้ออกหนังสือรับรองหรือหลักฐานการจบการศึกษาแก้ผู้เรียนที่จัดโดยครอบครัว คือ
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ผู้ปกครอง
38. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางฯ
ก. การคิด
ข. การสื่อสาร
ค. การใช้ภาษา
ง. ทักษะชีวิต
39. สิ่งใดที่สามารถเพิ่มเติมได้ตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้
ก. ตัวชี้วัด
ข. มาตรฐานการเรียนรู้
ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ง. คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
40. ผู้อำนวยการสถานศึกษามีอำนาจสั่งซื้อ ป.พ. ใดได้โดยตรง
ก. ป.พ.1 ข. ป.พ.2 ค. ป.พ. 3 ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
41. การสอนที่ดีเกิดจากอะไร
ก. ครูรักที่จะสอน
ข. ครูมีหน้าที่สอน
ค. ครุสอนตามที่ฝึกฝนมา
ง. ครูสอนตามใจนักเรียน
42. พฤติกรรมการสอนของครูท่านใดที่มีผลต่อการเรียนของนักเรียนมากที่สุด
ก. ครูปลามีความสามารถชักจูงนักเรียน ให้สนใจในวิชาที่ตนสอน
ข. ครุก้องสามารถแนะนำความรู้ให้นักเรียนสามารถสอบผ่านในวิชาที่เรียน
ค. ครูนภาสนใจนักเรียนและหมั่นไปเยี่ยมนักเรียนที่บ้านสม่ำเสมอ
ง. ครูยุพินแสดงอารมณ์ให้นักเรียนทราบว่าครูไม่พอใจเมื่อนักเรียนไม่ส่งงานที่ครูให้ทำ
43. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการรายงานผลการเรียนให้กับผู้ปกครองทราบ
ก. รายงานทุก 3 เดือนครั้ง
ข. รายงานเมื่อจบการศึกษาในแต่ละช่วงชั้น
ค. รายงานให้ทราบเป็นระยะๆ อย่างน้อยอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
ง. รายงานให้ทราบทุกๆปี เป็นระยะๆ
44. การแนะแนวในโรงเรียนมีประโยชน์ต่อครูอย่างไร
ก. ช่วยให้ครูรู้ข้อบกพร่องข้องนักเรียน
ข. ช่วยให้ครูแนะนำอาชีพแก่นักเรียนได้เหมาะสม
ค. ช่วยให้ครูเข้าใจนักเรียนทุกด้าน
ง. ช่วยให้ครูสร้างสื่อนันทนาการให้นักเรียนได้
45. บทบาทของครูประจำชั้นในการแนะแนวแสดงออกได้อย่างไร
ก. วางกฎระเบียบของห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม
ข. ร่วมกับนักเรียนในการผลิตสื่อการเรียนการสอน
ค. สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ง. หมั่นตรวจสอบพฤติกรรมของนักเรียนเฉพาะผู้ที่มีปัญหา
46. ข้อความใดแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียน
ก. ผู้เรียนเล่าเรื่องจากการฟังวิทยุได้
ข. ผู้เรียนสาธิตการเกิดความดันอากาศได้
ค. ผู้เรียนอธิบายวัฎจักรของน้ำได้
ง. ผู้เรียนประดิษฐ์กล่องไม้ได้
47. การตัดสินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษากำหนดเวลาเรียนของนักเรียนไว้เท่าไรจึงจะผ่านเกณฑ์
ก. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด
ข. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเวลาเรียนทั้งหมด
ค. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
ง. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของเวลาเรียนทั้งหมด
48. การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความมุ่งหมายอะไร
ก. สอนให้ผู้เรียนได้รับความรู้จนจบบทเรียน
ข. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามที่โรงเรียนคาดหวัง
ค. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด
ง. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ที่ลึกซึ้ง
49. บทบาทหน้าที่หลักของสถานศึกษาในการจัดการศึกษา คืออะไร
ก. ฝึกทักษะชีวิตแก่นักเรียน
ข. จัดหาครูให้พอเพียงกับนักเรียน
ค. จัดให้เรียนรู้จากประสบการณ์
ง. จัดการเรียนการสอน
50. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต้องสอดคล้องกับสิ่งใด
ก. หลักสูตร
ข. นโยบายของรัฐ
ค. ความทันสมัย
ง. แบบเรียน
51. จำนวนเวลาเรียน 40 ชั่วโมง เท่ากับกี่หน่วยกิต
ก. 0.5 หน่วยกิต
ข. 1 หน่วยกิต
ค. 1.5 หน่วยกิต
ง. 2 หน่วยกิต
เฉลย
1. ค 11. ง 21. ค 31. ค 41. ก
2. ข 12. ค 22. ง 32. ง 42. ก
3. ง 13. ก 23. ง 33. ก 43. ค
4. ก 14. ก 24. ค 34. ก 44. ค
5. ก 15. ข 25. ข 35. ก 45. ค
6. ข 16. ง 26. ง 36. ง 46. ค
7. ข 17. ก 27. ง 37. ข 47. ค
8. ข 18. ค 28. ข 38. ค 48. ค
9. ง 19. ค 29. ก 39. ง 49. ค
10. ค 20.ค 8 30. ค 40. ค 50. ก
51. ข
ที่มา :  https://www.kruchiangrai.net/2017/03/07/%E0%B9%81%E0%

วิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้บันได ๕ ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียน สู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ ๒๑ (Five Steps for Student Development)




วิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้บันได ๕ ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียน
สู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ ๒๑ (Five Steps for Student Development)
อาจารย์วุฒิพงษ์  คำเนตร
                         สาขาภาษาไทย  คณะครุศาสตร์
                              มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


                          
 ปัจจุบัน ในประเทศและสังคมโลกที่มีการพัฒนาก้าวไกลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านความเจริญทางเทคโนโลยี การคมนาคม หรือการขนส่งต่างๆนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมมนุษย์ได้ แม้กระทั่งการศึกษาในยุคปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยอยู่ตลอดเวลาตามวิถีทางสังคมมนุษย์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด  การศึกษาไทย แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย และวิถีความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีการพัฒนาแล้วก็ตาม หลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ยังไม่สามารถบ่งชี้ให้ครูผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศได้  ซึ่งขณะเดียวกันครูผู้สอนก็ได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อหาวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม และนำมาเพื่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
                            สำหรับการสอนภาษาไทยนั้น ไม่ว่าสังคมโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางอย่างไรก็ตาม กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยก็ยังคงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในด้านของการสื่อสาร การฟัง พูด อ่าน เขียน ให้มีประสิทธิภาพ โดยทั้งหมดจะต้องให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจหลักภาษาและวรรณคดีไทยอย่างเห็นคุณค่า ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องหาเทคนิควิธีเพื่อจะให้นักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยใช้บันได ๕ ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ ๒๑ ดังต่อไปนี้
                            การพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น หมายความว่า เป็นวิธีที่ครูผู้สอนภาษาไทยจะต้องสามารถบูรณาการ จัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ ให้สอดคล้องกับปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO  ประการแรก คือการเรียนเพื่อให้มีความรู้ในสิ่งต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อไป เช่น การรู้จักแสวงหาความรู้ การต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ การสร้างความรู้ขึ้นใหม่ (Learning to know) ประการที่สอง คือการเรียนเพื่อปฏิบัติลงมือทำ นำไปสู่การประกอบอาชีพจากความรู้ที่ได้มา และการสร้างประโยชน์แก่สังคม (Learning to do) ประการที่สาม คือการเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข เช่น การเรียน ครอบครัว สังคมและการทำงาน (Learning to live together ) ประการสุดท้าย คือ การเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ รู้ถึงศักยภาพ ความถนัดและความสนใจของตนเอง และสามารถวางแผนชีวิตให้แก่ตนเองได้ (Learning to be)
                            บันได ๕ ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ ๒๑ (Five Steps for Student Development) คือการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพ และคุณลักษณะตามมาตรฐานสากล โดยจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้และมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น โดยครูผู้สอนจะต้องพยายามจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าถึงองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ (Constructivism) ซึ่งบันได ๕ ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ยังสามารถที่จะนำมาใช้ในการบูรณาการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยได้ ซึ่งมีขั้นตอนของบันได ๕ ขั้น สู่วิธีการและการจัดการเรียนรู้ในบริบทและขั้นตอนต่อไปนี้
                                                ๑. ขั้นการตั้งคำถาม/สมมติฐาน (Learning to Question) เป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด สังเกต ตั้งคำถาม และเกิดการเรียนรู้จากการตั้งคำถาม
                                                ๒. ขั้นการสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Learning to Search) ครูผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ สืบค้นข้อมูล จากแหล่งข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ จากการฝึกปฏิบัติและการทดลอง ตลอดจนการเก็บข้อมูล เป็นต้น
                                                ๓. ขั้นการสร้างความรู้ (Learning to Construct) เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกันที่ครูผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การทดลอง มาใช้ในการถกแถลง แสดงความคิดเห็น อภิปรายความรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การสรุปและสร้างองค์ความรู้
                                                ๔. ขั้นการสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ(Learning toCommunication) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพูด การอ่าน การเขียน หน้าชั้น
                                                ๕. ขั้นการบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Learning to Serve) คือการที่ครูผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้มาสู่การปฏิบัติ สามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การทำประโยชน์ให้กับสังคม อันจะส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของผู้เรียนและการบริการสังคม
                            จากข้างต้น เป็นเพียงขั้นตอนและบันไดที่ครูผู้สอนภาษาไทยจะต้องสามารถนำมาใช้ในการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้องค์ความรู้จากการสังเกตและตั้งคำถาม ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้และนำความรู้ที่ได้มาถกปัญหา แสดงความรู้ความคิด อันนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้และมุมมองที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการสื่อสารด้วยวิธีต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการสร้างประโยชน์แก่สังคมโดยมีจิตสาธารณะควบคู่กับการจัดการเรียนการสอน
                            อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฎีและขั้นตอนจะกล่าวไว้อย่างชัดเจนก็ตาม สิ่งที่จะนำมาสู่ประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนได้นั้น คงหนีไม่พ้นกระบวนการปรับเปลี่ยนวิธีสอนของครูควบคู่กับการหลอมรวมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางของหลักการ ซึ่งครูผู้สอนอาจยุ่งยากต่อการเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติในสิ่งใหม่ๆ แต่ก็ไม่ลำบากมากจนเกินไปหากครูผู้สอนภาษาไทยยอมรับและมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนของตน
                            วิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้บันได ๕ ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลในศตวรรษที่ ๒๑ (Five Steps for Student Development) เป็นแนวทางของวิธีสอนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลงตัวกับทฤษฏีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism) โดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงกระบวนการเรียนรู้ และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง อันมาจากข้อสงสัยและการตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการหาคำตอบ ทั้งนี้ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ คอยกระตุ้น ประคับประคอง ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความทันสมัยและความเปลี่ยนแปลงสังคมโลก ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างนำเสนอแนวทางวิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้บันได ๕ ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลบางสาระดังนี้
                            การสอนหลักภาษาไทย จากประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนได้สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นเวลานับสิบปี จะเห็นได้ว่าการสอนหลักภาษาไทย เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับครูผู้สอนและผู้เรียนมาก อาจเป็นเพราะเนื้อหาที่ค่อนข้างยาก ซับซ้อน มีกฎเกณฑ์ที่เข้าใจยาก ซึ่งบ่อยครั้งจะเห็นว่าผู้เรียนไม่ค่อยสนใจเรียนรู้เท่าที่ควร พอถึงชั่วโมงที่จะต้องสอนหลักภาษาไทย จำเป็นมากที่จะต้องหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจผู้เรียน
                            วิธีการสอนหลักภาษาไทยที่เหมาะสมนั้น จำเป็นมากที่ครูจะต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณประโยชน์จากการเรียนหลักภาษา สอนให้ผู้เรียนได้ทราบกฎเกณฑ์ทางภาษาเฉพาะที่จำเป็น เช่นประโยคและโครงสร้างของประโยคในภาษาไทย  คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย รูปลักษณ์คำไทย เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยให้หลักภาษาไทยได้เกิดความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาไทย ครูจะต้องสอนหลักภาษาไทยโดยการฝึกทักษะทั้งสี่ให้แก่ผู้เรียนในชั้นเรียนโดยให้มีการซักถาม พูดอธิบาย  แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ต่อประเด็นของเนื้อหาหลักภาษาไทยที่ครูกำลังสอน  ซึ่งครูสามารถนำบันได ๕ ขั้นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน นำขั้นตอนทั้ง ๕ ขั้นมากำหนดกิจกรรมลงสู่แผนการจัดการเรียนรู้ และนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนตามขั้นตอนคือ
                                                ขั้นแรก ครูคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการตั้งคำถาม ให้รู้จักการสังเกต ในประเด็นและกฎเกณฑ์ของหลักภาษาไทย จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันเลือกประเด็นคำถามที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้มาใช้เป็นประเด็นในการค้นคว้าหาคำตอบร่วมกัน ยกตัวอย่างการสอนเรื่องภาษาต่างประเทศในภาษาไทย อาจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดข้อคำถาม ซึ่งข้อคำถามของผู้เรียนอาจถามว่า ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย มีภาษาอะไรบ้าง ?  วิธีสังเกตภาษาต่างประเทศแต่ละภาษามีวิธีการสังเกตอย่างไร ? เพราะเหตุใดภาษาไทยจึงต้องมีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ? ซึ่งคำถามของผู้เรียนทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การค้นหาคำตอบในขั้นที่สอง
                                                ขั้นที่สองคือ การสืบค้นความรู้และสารสนเทศ ซึ่งครูจะต้องมีบทบาทในการแนะนำแหล่งวิทยาการต่างๆ ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยนำเอาข้อคำถามต่างๆที่เป็นประเด็นในชั้นเรียนมาสืบค้นหาข้อมูล ครูจะต้องทำหน้าที่ประคับประคองให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเอาข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้ามาจัดกิจกรรมในชั้นเรียนอีกครั้งหนึ่งในขั้นที่สาม
                                                ขั้นที่สาม คือการสร้างองค์ความรู้ โดยให้ผู้เรียนนำเอาข้อมูลความรู้ที่ได้มานั้นมานำเสนอและช่วยกันอภิปรายเพิ่มเติม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการถกประเด็นร่วมกัน เช่น เพราะเหตุใดภาษาไทยจึงต้องมีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ประเด็นคำตอบของผู้เรียนแต่ละคนนั้นอาจมีความแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการเรียนรู้เป็นสำคัญ โดยครูจะต้องคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนแต่ละคนได้อภิปรายความรู้มีการวิพากษ์วิจารณ์ความรู้ ที่ได้มาร่วมกันเพื่อเป็นการสรุปและสร้างองค์ความรู้ จากนั้นในขั้นที่สี่
                                                ขั้นที่สี่ เป็นการสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ เป็นขั้นตอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการนำเอาความรู้จากการค้นคว้าด้วยตนเองมาใช้ในกระบวนการของการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น กำหนดให้ผู้เรียนนำเนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาใช้ในการสื่อสาร เช่น เขียนสื่อสารความรู้ในรูปแบบการเขียนเรียงความ การเขียนบทความ การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ ตลอดจนการพูดหน้าชั้นเรียนในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นการพูดนำเสนอข้อมูล การพูดวิเคราะห์วิจารณ์และการพูดแสดงความคิดเห็น ซึ่งการนำเสนอทักษะการสื่อสารด้วยการพูด หากจะให้เกิดรูปธรรมและชิ้นงานของผู้เรียน ครูอาจกำหนดให้ผู้เรียนได้อัดคลิปวีดีโอมาส่ง โดยใช้เครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวันที่ผู้เรียนมีอยู่หรือหาได้ง่าย ๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ หรือกล้องดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมในชั้นเรียนลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัว สนใจในวิธีการนำเสนอและการสื่อสารรูปแบบต่างๆได้
                                                ขั้นที่ห้า เป็นขั้นของการบริการสังคมและจิตสาธารณะ หลังจากที่ผู้เรียนได้มีการสื่อสารด้วยวิธีต่างๆแล้ว ข้อมูลความรู้ที่ผู้เรียนได้มีการสื่อสารโดยการบันทึกไว้ในลักษณะต่างๆ ในขั้นที่สี่  เช่นคลิปวีดีโอการพูดสื่อสารลักษณะต่างๆ เรียงความ บทความ เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ที่เป็นผลงานนักเรียน ครูอาจจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นคุณค่าในผลงานของตน แล้วนำผลงานของตนมาเผยแพร่ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการผลงานคลิปวิดีโอ งานเขียน เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่คนอื่นในโรงเรียน เป็นต้น
                            การสอนวรรณคดีไทย แม้ว่าครูผู้สอนจะสอนวรรณคดีไทยในระดับชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาก็ตาม การเรียนการสอนวรรณคดีไทยยังคงประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น ผู้เรียนไม่เห็นคุณค่าของวรรณคดีไทยอย่างแท้จริง ครูมักจะมุ่งเน้นในการสอนคำศัพท์และเนื้อหาของวรรณคดีมากกว่าการพัฒนาความคิดของผู้เรียน ให้รู้จักสังเกต แยกแยะ วิเคราะห์ วิจารณ์  ฉะนั้นเพื่อให้การสอนวรรณคดีเป็นไปตามหลักการที่เหมาะสม ครูจะต้องสอนเนื้อหาวรรณคดีให้มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จากการเรียนรู้ สามารถดึงแง่คิด วิเคราะห์วิจารณ์สังคม ตัวละครได้อย่างมีเหตุมีผล และมีวิจารณญาณได้ นอกจากนี้ครูจะต้องสามารถสอนวรรณคดีในฐานะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมได้ จะต้องสอนวรรณคดีในฐานะเป็นศิลปะภาษา จะต้องสอนวรรณคดีในฐานะเป็นประสบการณ์ชีวิต โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมุ่งเน้นการพัฒนาความคิดของผู้เรียน ให้อิสระทางความคิดของผู้เรียน ครูจะต้องชี้แนะแนวทางวิธีการคิดที่ถูกต้องและหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสนใจและเรียนรู้วรรณคดีอย่างเห็นคุณค่า ตลอดจนความงามของวรรณคดี
                            เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางมาตรฐานสากล ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีสอนวรรณคดีโดยใช้บันได ๕ ขั้น มาใช้ในการจัดการเรียนรู้พอสังเขปดังนี้
                                                ขั้นที่ ๑ ขั้นการตั้งคำถาม / สมมติฐาน ไม่ว่าจะเป็นการสอนวรรณคดีระดับประถมหรือมัธยมก็ตาม การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิด เกิดข้อสงสัยจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและหาคำตอบด้วยตนเองได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความตื่นเต้นสนุกและน่าสนใจในการเรียนรู้วรรณคดีของผู้เรียน ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้
                                                -  ครูกำหนดวรรณคดีเรื่องที่จะสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวตั้ง จากนั้นครูบอกและอธิบายตัวชี้วัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนกำลังจะเรียน
                                                -  ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามตามที่นักเรียนสนใจอยากจะรู้ หรือเชิญชวนให้นักเรียนตั้งประเด็นข้อสงสัยในเนื้อหาวรรณคดีเรื่องที่จะเรียน ยกตัวอย่างคำถามเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วแต่งงานกับนางพิม เช่น เพราะอะไรมนุษย์จึงต้องแต่งงานกัน? การแต่งงานมีขั้นตอนอย่างไรเพราะอะไรการแต่งงานจึงต้องมีสินสอดทองหมั้น ?เพราะเหตุใดนางพิม    จึงเลือกแต่งงานกับพลายแก้ว ทั้งๆ ที่ขุนช้างก็ร่ำรวยกว่า ?
                                                -  เมื่อผู้เรียนสร้างคำถามแล้ว ครูและนักเรียนพิจารณาคำถามร่วมกัน แล้วช่วยกันเลือกคำถามเพื่อนำไปสืบค้นเรียนรู้และหาคำตอบ
                                                ขั้นที่ ๒ ขั้นการสืบค้นข้อมูล เมื่อผู้เรียนได้ข้อคำถามแล้ว ครูทำหน้าที่แนะนำแหล่งวิทยาการให้ผู้เรียนได้ไปศึกษาหาความรู้ อาจเป็นการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต  เข้าห้องสมุด หรือถ้าเป็นนักเรียนระดับชั้นโต ก็สามารถให้นักเรียนไปเก็บข้อมูล หรือสัมภาษณ์ความรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งอยู่ในชุมชนของผู้เรียนเอง ซึ่งการเก็บข้อมูลครูจะต้องให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสม
                                                ขั้นที่ ๓ การสร้างองค์ความรู้ ขั้นนี้ถือได้ว่าเป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้เกิดการสะท้อนความรู้ ครูอาจเปิดเวทีให้ผู้เรียนได้มีการอภิปรายความรู้คำตอบและสิ่งที่ตนเองได้ไปเรียนรู้มา ซึ่งคำตอบที่ได้มาอาจมีความแตกต่างกัน ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ความรู้ร่วมกันในมุมมองที่แตกต่างเพื่อหาข้อสรุปขององค์ความรู้ที่ได้มา
                                                ขั้นที่ ๔ การสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ หากเป็นไปได้ในเด็กโต ครูอาจกำหนดให้ผู้เรียนได้มีการแบ่งกลุ่มและทำงานร่วมกัน โดยให้ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปศึกษามาจัดประสบการณ์ด้วยวิธีการสื่อสารการพูด การเขียน หรืออาจให้ผู้เรียนช่วยกันเขียนบทละครจากวรรณคดีที่เรียน และนำมาให้ครูตรวจสอบว่า บทละครที่เขียนขึ้น ฉาก บรรยากาศ ตัวละคร มีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือไม่ จากนั้นให้ผู้เรียนไปซ้อมการแสดงตามบทละครที่กลุ่มตนเองเขียนขึ้นมาเพื่อนำไปแสดงหน้าชั้นเรียน หรือ หน้าเสาธงก็ได้
                                                ขั้นที่ ๕ การบริการสังคมและจิตสาธารณะ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนวรรณคดีอย่างเห็นคุณค่ามากยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงขั้นที่สี่มาสู่การบริการสังคมเป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยากคือ ครูอาจมอบหมายให้แต่ละกลุ่มจัดการแสดงละครภายในโรงเรียน แล้วเชิญครูและนักเรียนมาร่วมชมการแสดง หรืออาจจัดการแสดงในกิจกรรมหน้าเสาธงก็ได้ตามความเหมาะสม
                            จากแนวทางวิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้บันได ๕ ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลข้างต้นนั้น เป็นเพียงแนวคิดที่ต้องการนำเสนอให้ครูผู้สอนภาษาไทยได้เห็นภาพว่าการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวสามารถที่จะนำมาบูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับตัวชี้วัดชองสาระวิชาตามหลักสูตรได้ทั้งสิ้น หากเพียงแค่ครูได้กำหนดวิธีการที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการกระตุ้นการตั้งคำถามของผู้เรียนให้สอดคล้องกับเรื่องที่กำลังจะสอนให้ได้มากที่สุด ก็จะสามารถเป็นบันไดสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าในศตวรรษที่ ๒๑ จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้มากขึ้นเพียงใดก็ตาม กระบวนการที่กล่าวมาก็ไม่ได้ถือว่าเป็นแนวคิดใหม่แต่อย่างไร หากจะมองในเรื่องของทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แล้วบันได ๕ ขั้นล้วนสัมพันธ์กับทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้นิยม หรือที่เรียกว่า คอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) ซึ่งเป็นแนวคิดทางจิตวิทยา โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้จากประเด็นข้อสงสัยและการหาคำตอบ เป็นทฤษฎีพหุปัญญา       ซึ่งผู้สอนต้องเข้าใจและเห็นถึงคุณค่าความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน  โดยมองว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งนักการศึกษาหลายท่านเห็นว่าผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพและสามารถที่จะเรียนรู้ได้ในประสบการณ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน  ถ้าผู้เรียนมีความรู้เดิมอยู่บ้างจะสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้โดยการเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่มีอยู่  ดังนั้นบทบาทผู้สอนเป็นเพียงผู้ค้นหาความรู้เดิมผู้เรียนแล้วจัดสถานการณ์ใหม่เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองได้ และการเรียนรู้ตามแนวคิดนี้เป็นกระบวนการที่ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ในการสร้าง การรวบรวม และการตกแต่งความรู้ของผู้เรียนเอง ดังนั้นจะเห็นว่าแนวทางทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก ฉะนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่า การนำบันได ๕ ขั้น มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แต่อย่างไรก็ตามหากครูสามารถที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการเรียนรู้ เห็นคุณค่าและประโยชน์ในการเรียนรู้ มีนิสัยในการเรียนรู้ให้มากขึ้นได้ บันได ๕ ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลก็จะไม่ใช่เรื่องยากในการสอนของครูอีกต่อไป







ที่มา :     http://patchanida0043.blogspot.com/2017/04/blog-post.html
http://wutthiphongkhamnet.blogspot.com/