วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การสร้างทฤษฎีหลักสูตร




การสร้างทฤษฏีหลักสูตร
            โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
  2.1 ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร
              การออกแบบหลักสูตร(Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย  เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล  (Zais.1976:16)  Herrick  and Tyler (1950:41)  ได้เสนอแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตรดังภาพ 




                                   ภาพประกอบ 1 ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตร

              Taba (1962:422) มีความเห็นว่าส่วนประกอบของหลักสูตรที่จะขาดเสีย มิได้ก็คือจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผล   Beauchamp (1975:107-109) ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร 
              Zais (1976:431-437)  ได้สรุปว่าการออกแบบหลักสูตร  ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร                 2  แบบคือ  หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic  design) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่าคนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ  4  ทางได้แก่ความมีเหตุผล  (Rationalism)  จะนำไปสู่การค้นพบความจริงการสังเกต  (Empiricism)  รับรู้จากการมอง  การได้กลิ่น  การได้ยิน  การได้สัมผัส  ฯลฯ  สัญชาตญาณ  (Intuition)  ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าวก็เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ และความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจ  (Authoritarianism)  เช่น  ความเชื่อในทางศาสนา  ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์ผู้รู้ได้กล่าวไว้  เป็นต้น  ส่วนหลักสูตรมนุษย์นิยมก็มีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรเพื่อความหลุดพ้นแต่การจัดหลักสูตรแบบนี้จะมุ่งเน้นเนื้อหา สาระมากกว่ากระบวนการการจัดหลักสูตรจึงยึดเนื้อหาสาระของวิชาเป็นศูนย์กลาง
              2.2 ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
              วิศวกรรมหลักสูตร  (Curriculum engineering) หมายถึงกระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร (Beauchamp.1975:108) หลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มากที่สุดนั้นมีอยู่หลายรูปแบบได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร 
              ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรมี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร  เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น




ที่มา  : https://sites.goo78888gle.com/site/

ทฤษฎีหลักสูตร





ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร

              การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาศึกษา มีการผสมผสานมโนทัศน์ความคิดรวมยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ และได้นำทฤษฎีทางการศึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะสะท้อนคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคมด้วยทฤษฎีหลักสูตร เนื้อหาสาระในบทนี้กล่าวถึงทฤษฎีหลักสูตร การสร้างทฤษฎีหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการพัฒนาหลักสูตร


1. ทฤษฎีหลักสูตร
              ทฤษฎีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาย และความหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำไปสู้การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
              Smith and others (1957) มีความเชื่อว่าทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทางการศึกษา เพื่อประกอบการเลือกและจัดหาเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรจึงได้นำทฤษฎีหลักสูตรมาใช้โดยการผสมผสานทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน กำหนดขึ้นเพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณาความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ที่สามารถนำมาปรับใช้การวางแผนและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่างๆ และโยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ พิจารณาโครงสร้างและเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร คำนึงถึงความสอดคล้องตามสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้เรียนและในส่วนของสังคม (Kelly.1995)        
              Beauchamp (1981) ได้สรุปว่า ทฤษฎีเป็นข้อความที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทำนายและคาดการณ์สิ่งต่างๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์สามารถควบคุมปรากฏการณ์ หรือป้องกันแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ชาติในที่สุดทฤษฎีหลักสูตร จึงเป็นการผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนำไปปฏิบัติในโรงเรียน โดยการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและการชี้แนะให้เห็นวิธีการพัฒนา
              ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคำอธิบายสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร และการนำผลที่ได้รับจากการประเมินผลมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (Kelly.2009) โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่างๆ ที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างจุดมุ่งหมายกับเนื้อหาวิชา ระหว่างเนื้อหาวิชาและโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมด ปรัชญาต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการวางจุดมุ่งหมาย สภาพความจริงในสังคม และบทบาทของการศึกษาในสังคม (Gardner and others.2000) โดยสภาพความจริงแล้วทฤษฎีและปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติจะดำเนินการอยู่ภายในขอบเขตของทฤษฎีที่กล่าวไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทฤษฎีจะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางของการปฏิบัตินั้นเอง โดยเหตุนี้ทฤษฎีจึงเป็นของคู่กันและจะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย

เกี่ยวกับบล็อค









บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช 
สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 

ผู้จัดทำ นางสาวสุวนันท์ ราชิวงษ์ 
รหัสนักศึกษา 603150610450 ชั้นปีที่ 2 

สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

ประมวลรายวิชา



ประมวลรายวิชา