หลักสูตรแฝง(Hidden Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
หลักสูตรแฝง เป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า(Hidden Curriculum) แต่มีนักพัฒนาหลักสูตรบางท่านพอใจที่จะใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น กู๊ดแลด (Goodlad,1094) ใช้คำว่า implicti curriculum และเซย์เลอร์กับอเล็กซานเดอร์ (Saylor , Alexander,1974) ใช้คำว่า unstudied curriculum ถึงแม้จะใช้คำที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ต่างก็มีความหมายใกล้เคียง หรือถือได้ว่าเป็นความหมายที่มีนัยเดียวกัน คือเป็นหลักสูตรที่แฝงซ่อนเร้น ไม่เปิดเผย และไม่ได้มุ่งศึกษาโดยตรงเพราะถือว่าเป็นหลักสูตรที่ไม่เป็นทางการ (unofficial curriculum)
2.หลักสูตรแฝงกับการเรียนรู้พฤติกรรมจิตพิสัย
โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้ายจิตพิสัย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่ และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้ ตามตัวหลักสูตรปกติมากจนเกินไป หรือเกินความจำเป็น แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น
การนำหลักสูตรแฝงออกมาสู่ที่สว่าง หรือนำความจริงเกี่ยวกับหลักสูตรแฝงมากขึ้น โดยการนำหลักสูตรแฝงมาเป็นยุทธวิถีหรืออุบายในการสอนจริยธรรมและสิ่งที่ดีงามได้แก่เยาวชน นั่นคือ นอกจากจัดบรรยากาศในโรงเรียนให้ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว จำเป็นจะต้องมีการควบคุมหรือกำหนดสิ่งแวดล้อมในสังคับระดับชุมชน และระดับประเทศให้เอื้อและสนองตอบไปในทิศทางเดียวกันด้วย เพื่อเยาวชนจะได้เรียนรู้และเลียนแบบความประพฤติและสิ่งดีๆจากผู้ใหญ่ในครอบครัวในโรงเรียนและในสังคม
ชิลเบอร์เมน (Silberman,1970 : 9) ได้ยืนยันความจริงในข้อนี้ว่า สิ่งที่นักการศึกษาจะต้องตระหนักให้มากก็คือ วิธีการที่เขาสอนและการกระทำของพวกเขามีความสำคัญมากกว่าสิ่งที่เขาสอนนั่นก็คือ ว่าวิถีทางที่เรากระทำกับสิ่งต่างๆจะสร้างค่านิยมได้ตรงกว่าและมีประสิทธิผลมากกว่าที่เราได้สอนหรือพูดคุยกับเขาโดยตรง
โคลเบอร์ก (kopiberg,1970 : 120) ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาด ผู้ซึ่งล่วงไปแล้ว ได้มีความเชื่อและจุดยืนเดียวกันเกี่ยวกับความสำคัญและอิทธิพลองหลักสูตรแฝงในรูปแบบของการเรียนรู้ทางสังคม (socialazation)
แจ๊คสัน (jackson, 1968 : 36) ได้ศึกษาลักษณะที่สำคัญของห้องเรียนและได้ชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติของกระบวนการการเรียนรู้ทางสังคมและความสำคัญของหลักสูตรแฝงว่า ในขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียน นักเรียนเรียนรู้ที่จะปรับตนเองให้สอดคล้องกับเจตจำนงของครู แล้วควบคุมการกระทำของตนเองให้เป็นที่ยอมรับ เขาเรียนรู้ที่จะยอมรับตามและปฏิบัติตามกฎระเบียบ และกิจวัตรต่างๆที่ได้กำหนดไว้เขาเรียนรู้ที่จะอดทนกับความไม่พอเล็กๆน้อยๆ และยอมรับนโยบายและแผนงานของผู้บริหาร แม้ว่าจะขาดเหตุผลไปบ้างก็ตาม
การนำหลักสูตรแฝงออกมาสู่ที่สว่าง หรือนำความจริงเกี่ยวกับหลักสูตรแฝงมากขึ้น โดยการนำหลักสูตรแฝงมาเป็นยุทธวิถีหรืออุบายในการสอนจริยธรรมและสิ่งที่ดีงามได้แก่เยาวชน นั่นคือ นอกจากจัดบรรยากาศในโรงเรียนให้ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว จำเป็นจะต้องมีการควบคุมหรือกำหนดสิ่งแวดล้อมในสังคับระดับชุมชน และระดับประเทศให้เอื้อและสนองตอบไปในทิศทางเดียวกันด้วย เพื่อเยาวชนจะได้เรียนรู้และเลียนแบบความประพฤติและสิ่งดีๆจากผู้ใหญ่ในครอบครัวในโรงเรียนและในสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น