วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

หลักสูตรสัมพันธ์วิชา



หลักสูตรสัมพันธ์รายวิชา(The Correlated Curriculum)
            เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้ เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อหาที่ต้องการทั้งนี้เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรที่เน้นเรื่องผู้สอนเป็นผู้สั่งการหรือจุดศูนย์กลางองการเรียนการสอน
แต่การปรับปรุงด้านเทคนิคการสอนไม่ได้ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องที่ว่า หลักสูตรรายวิชามีขอบเขตแคบเฉพาะวิชา และยังมีลักษณะแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยๆอีกด้วย
วิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี
         1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
         2. สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์ เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง การนำเอากฎเกณฑ์ของวิชาหนึ่งไปใช้กับอีกวิชาหนึ่ง ดังกล่าวมานี้ เป็นผลให้เกิดการหลอมวิชา (Fusion) และเกิดหลักสูตรอีกแบบหนึ่งเรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ(The Integrated Curriculum)
         3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง 
       
            หลักสูตรสัมพันธ์วิชาที่ปรับปรุงขึ้นมาจากหลักสูตรรายวิชานี้ มีประโยชน์หลายอย่างที่สำคัญคือ ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นโปรแกรมการเรียนการสอนเป็นส่วนรวมชัดเจนขึ้น ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีมากขึ้นและกว้างวางกว่าเดิมและเปิดทางให้สามารถขขขยายงานด้านตำราเรียนได้กว้างขวางขึ้น แต่อย่างไรก็ตามข้อบกพร่องที่ยังแก่ไขไม่ได้ก็คือ รูปแบบของหลักสูตรยังคงเป็นหลักสูตรรายวิชานั่นเอง ในปัจจุบันหลักสูตรสัมพันธ์วิชายังมีใช้อยู่ อยู่ในเพียงในบางประเทศที่ยังคงใช้หลักสูตรรายวิชาเป็นหลัก


             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น