1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทำหมอปั้นดินเผา
ปัญหาอุปสรรคในการประกอบการ ปัจจัยสำคัญที่เข้ามามีส่วนทำให้การผลิตเครื่องปั้นดินสทิงหม้อลดน้อยลงนั้น มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกมีการกระจายของสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ การขาดการเอาใจใส่ของผู้เกี่ยวข้องและปัญหาโจรสลัด ซึ่งคอยบุกปล้นสะดมเมื่อนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างเมือง ปัจจัยภายในมีการขาดผู้ช่วยเหลือแรงงาน ราคาผลิตภัณฑ์ตกต่ำ เพราะผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ขาดพาหนะขนส่ง และความชราภาพของผู้ประกอบการเอง ปัญหาอุปสรรคที่ผู้ประกอบการในปัจจุบันประสบอยู่ แยกได้เป็น 3ประการ คือ ปัญหาการผลิต การจำหน่าย และการรักษาเอกลักษณ์
เรื่องของเอกลักษณ์เป็นเรื่องของคุณค่าทางวัฒนธรรมประจำกลุ่ม ประจำถิ่นหรือประเทศ เป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อน การที่จะมองเห็นเอกลักษณ์ของตนเอง และความสำคัญของเอกลักษณ์ที่มีต่อตนตลอดจนการสร้างเอกลักษณ์ใหม่ให้กับตนเองนั้น เป้นเรื่องที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ประการหนึ่งที่เป็นรากฐานสำคัญ คือ การศึกษาให้รู้ให้เข้าใจว่า ตนเองมีอะไรเป็นเอกลักษณ์ สิ่งนั้นให้คุณค่าแก่ตนเองอย่างไรบ้าง และถ้าจะสร้างสิ่งใหม่ ควรกรองมาจากของเก่าและใหม่อย่างละเท่าใด ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การแก้ไขปัญหาอุปสรรคส่งเสริมด้านนี้ก็ควรใช้หลักการดังกล่าว คือ ศึกษาเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นสทิงหม้อให้เข้าใจลึกซึ้งมากกว่านี้แล้วนำผลจากการศึกษานั้นมาเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและผุ้ที่สนใจทั่วไป แล้วขั้นตอนต่อไปก็ร่วมมือกันคิดค้นเอกลักษณ์เพิ่มเติมโดยยึดของเดิมที่ดีแล้วเป็นแกนกลาง ในทางปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์และสร้างสรรค์เอกลักษณ์ สิ่งที่ผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องควรทำ คือ การรวบรวมสะสมผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ทุกชนิดของหมู่บ้านที่เคยผลิตและกำลังผลิตอยู่ในปัจจุบัน เพราะวัฒนธรรมระดับสูงที่เรียกว่า “อารยธรรม” นั้น เกิดจากการรวบรวม
วัสดุการทำหม้อ
1.ดินเหนียว (ดินที่นำมาปั้นหม้อต้องเป็นดินจากปากรอเเละชิงโคเท่านั้นในการทำหม้อดินเผาสทิงหม้อ)
2.เครื่องอัดดิน (นำดินปากรอเเละดินชิงโคมาอัดให้เป็นเนื้อเดียวกัน)
3.เครื่องหมุน (ซึ่งปัจจุบันมักใช้เป็นระบบไฟฟ้า)
4.เตาเผา (ใช้ในการเผาหม้อดินเผา)
5.ไม้พิมพ์ลาย (ไว้ใช้พิมพ์หม้อดินเผาซึ่งในเเต่ละท้องถิ่นก็จะมีลายที่เเตกต่างกัน)
ดินที่พร้อมจะนำไปปั้น
เครื่องอัดดิน
เครื่องหมุน
เตาเผา
วิธีการทำหม้อดินเผา
1.เตรียมดินเหนียวที่ผสมกับดินทรายบริเวณชายฝั่งทะเลปากรอ
3.หยิบดินตามขนาดภาชนะที่เราจะปั้น
4.เอาดินตั้งบนแป้นเเละเปิดเเป้นหมุนให้เครื่องทำงาน ใช้มือขึ้นรูป
7.ใช้เชือกตัดบริเวณก้นหม้อเมื่อขึ้นรูปเสร็จแล้ว***สำหรับการทำลายของหม้อ |
2.
ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ :การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ “ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร :
ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU Model ”
ตอบ
SU Model
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด แบบจำลอง SU Model
SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
· ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
· ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง · ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร มีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้น จะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือ มีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการ และด้านการพัฒนาผู้เรียน หรือ การออกแบบหลักสูตรมุ่งเน้นความรู้ตามหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระ และผลผลิตของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมาย (aim) และจุดมุ่งหมาย (goal) ของหลักสูตรสามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอนจะมีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม |
ที่มา : https://sites.google.com/site/socialedu57/sthing-hmx/withi-kar-tha-hmx-din-phea
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น