วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ภาพจำลอง NPU Model ของสุวนันท์ ราชิวงษ์









(ภาพจำลอง NPU Model ของสุวนันท์ ราชิวงษ์)


         NPU Model คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ที่มาจากนิยามศัพท์
ของการวิจัย ที่ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้
ผู้วิจัยนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์มาเป็นสาระสําคัญ ประกอบด้วย
การทําความกระจ่างชัดในความรู้การเลือกรับและทําความเข้าใจ สารสนเทศใหม่และการ
ตรวจสอบทบทวนและใช้ความรู้ใหม่ในทำนองเดียวกนผู้วิจัยได้ศึกษาแบบจำลอง  Biggs 3’P
Model ตัวแปรก่อนเรียน(Presage) กระบวนการ(Process) และผลผลิต(Product) สอดคล้องกับแนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์(Treffinger, Isaksen and Dorval, 2000) ประกอบด้วย
1)  ความเข้าใจที่ท้าทาย(Understanding the Challenge) มุ่งค้นหาจุดหมาย(goal)โอกาส(oppor-tunity) ความท้าทาย  (Challenge) ความกระจ่างชัด(clarifying) คิดแผนการ(formulating) เพื่อกำหนดกรอบ ความคิดสำคัญในการปฏิบัติงาน
2)  การสร้างมุมมองในการคิดแก้ปัญหา(Generating Ideas)
3)  การเตรียมทั้งวิธีการในการปฏิบัติงานและความสำเร็จในการปฏิบัติงาน(Preparing for Action)
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 N- Need Analysis
1.1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
 21 และจุดหมายของการศึกษาในระดับสากล  (World class Education) เพื่อกำาหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา การพัฒนาหลักสูตรและนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
1.2 การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1) กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2) จัดทําปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเองในการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นที่  2 P-/Praxis
2.1 การพฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้กระบวนการพฒนาหลักสูตร
2.1.1 การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้
2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทํากิจกรรมการ
ปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของนักศึกษาเปิดการอภิปราย
ให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอยของความคิดของนักพัฒนาหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้
อภิปรายกับกลุ่มเพื่อนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.2 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิด
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” โดยใชภาษาของตนเองสอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของนักศึกษาที่ใชความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการ
อธิบายในส่วนการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ความเข้าใจใน
กระบวนการพฒนาหลักสูตร” ของนักศึกษาโดยผ่านประสบการณ์ใหม่ๆผู้เรียนจะได้รับการ
สนับสนุนให้นําความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ ในชีวิตจริงโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษานำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ โดยการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้น
ขั้นที่ 3 U-Understanding
การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้-การประเมินความรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง
ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและนำเสนอเป็นแบบจำลองการเรียนการสอน เรียกว่า NPU Model







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น