วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

6.แบบจำลองของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์





                                                        6. แบบจำลองของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
              ในการทำความเข้าใจกับแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของ เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ก่อนอื่นการวิเคราะห์มโนทัศน์ของ “หลักสูตร” และ “การวางแผนหลักสูตร” เสียก่อนในตอนต้นของบทนี้ได้มีการกล่าวถึงนิยามและมโนทัศน์ของหลักสูตรในหลายทัศนะ และมีอยู่ทัศนะหนึ่งที่กล่าวว่า หลักสูตร เป็น “แผนการสำหรับการจัดเตรียมชุดของโอกาสในการเรียนรู้สำหรับบุคลที่จะเข้ารับการศึกษา”  อย่างไรก็ตามแผนหลักสูตร สำหรับแต่ละส่วนของหลักสูตรที่มีความเฉพาะเจาะจง แบบจำลองการพัฒนา/แผนหลักสูตรของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ประกอบด้วยห้าขั้นตอนคือ 1. การศึกษาตัวแปรภายนอก (external variables) ได้แก่ภูมิหลังของนักเรียนสังคม ธรรมชาติของการเรียนรู้ แผนการศึกษาแห่งชาติ ทรัพยากรและความสะดวกสบายในการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร ผลการรายงานการวิจัยค้นคว้าต่างๆ และคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพ 2. การกำหนดเป้าประสงค์ จุดประสงค์ และขอบเขต  3. การออกแบบ หลักสูตร 4. การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ : การเรียนการสอน และ  5. การประเมินผลหลักสูตร ดังภาพประกอบ 23


              อเล็กซานเดอร์  แสดงวิธีการวางแผนหลักสูตรระดับชาติของ เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์เช่นกัน  เมื่อพิจารณาหลักสูตรของเซเลอร์ และ อเล็กซานเดอร์  พบว่ามีการเน้นเกี่ยวกับพื้นฐานเป็นอย่างมาก เป็นแบบจำลองที่ออกแบบเพื่อแนะนำกระบวนการเลือกกิจกรรมของผู้เรียน  ความแกร่งเป็นพิเศษของผู้ออกแบบจำลองนี้คือ มีความครอบคลุมกว้างขวางในรูปของการเชื่อมโยงหลักสูตรเข้ากับการเรียนการสอน ด้วยการแสดงให้เห็นว่าวิธีการสอนต่างๆ (Teaching methods) และกลยุทธ์การสอน  (Teaching  strategies) ต่างๆ เป็นผลมาจากการวางแผนหลักสูตร  ความแกร่งที่สำคัญอื่นๆ แบบจำลองนี้คือ  ทุกขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอาศัยหลักพื้นฐานทางสังคม  ปรัชญา และจิตวิทยา

ที่มา : http://patthadon-dit9941.blogspot.com/search/label/%
หนังสือเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตร(ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.พิจิตรา  ธงพานิช)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น