วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้






                                                             ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
              จากขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้  จะเห็นได้ว่าการนำหลักสูตรไปใช้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือบุคคลหลายฝ่ายหลายระดับซึ่งจะต้องประสานงานหรือร่วมมือกันในอันที่จะนำหลักสูตรไปให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแต่ละหน่วยงาน แต่ละฝ่ายแต่ละระดับมีส่วนในการนำหลักสูตรไปใช้ที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงบทบาทของหน่วยงานต่างๆ ในการนำหลักสูตรไปใช้ และบทบาทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
              6.1 บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
              หน่วยงานส่วนกลาง หมายถึง หน่วยงานหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ใช้ หน่วยงานส่วนกลางมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ ลักษณะคือ การบริหาร การบริการหลักสูตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง
              หน่วยงานส่วนท้องถิ่น หมายถึงหน่วยงานหรือผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอน ซึ่งได้แก่โรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้หลักสูตรซึ่งสร้างโดยส่วนกลาง งานที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาจะต้องรับผิดชอบในการใช้หลักสูตรก็คืองานบริหารงานบริการหลักสูตร การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
              หน่วยงานทั้ง 2 ได้แบ่งลักษณะของการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
              1. หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทอย่างเต็มที่
              2. โรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่
              3. หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทส่วนใหญ่โดยได้รับความช่วยเหลือจากส่วนท้องถิ่น
              4. หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทส่วนใหญ่โดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง
              (จากรายงานการประชุมวิชาการเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
(APEDI, 1977))
              1. การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทอย่างเต็มที่ การใช้หลักสูตรในรูปนี้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทที่สำคัญดังนี้คือ
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              1. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
              2. เตรียมโปรแกรมและหลักสูตรชนิดต่างๆ
              3. ดำเนินการวิเคราะห์และผลของการใช้หลักสูตร
              4. พิจารณาอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเรียนการสอน
              5. ดำเนินการวัดและดำเนินผลการปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรของหน่วยงานระดับท้องถิ่น
              บทบาทหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
              ทำหน้าที่ให้ช่วยเหลือหน่วยงานส่วนกลางในเรื่องการติดตามผลการใช้หลักสูตร
              2. การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทอย่างเต็มที่ การใช้หลักสูตรแบบนี้หน่วยงานแต่ละระดับจะมีบทบาทที่สำคัญ
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              หน่วยงานส่วนกลาง ไม่มีบทบาทในการใช้หลักสูตรของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นแต่อย่างใด
              บทบาทของหน่วยงานของท้องถิ่น
              1. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
              2. พัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนและสร้างผู้นำทางวิชาการ
              3. วิเคราะห์และติดตามผลการใช้หลักสูตร
              4. ดำเนินการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเรียนการสอน
              3.  การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือการใช้หลักสูตรระบบนี้หน่วยงานในระดับผู้พัฒนาหลักสูตรและหน่วยงานท้องถิ่นจะมีบทบาทดังนี้
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              1. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
              2. จัดโปรแกรมและวัสดุต่างๆ
              3. ดำเนินการวิเคราะห์และติดตามผล
              4. จัดหาผู้นำทางด้านความคิดมาช่วยในการใช้หลักสูตร
              5. สร้างบรรยากาศสนับสนุนการใช้วัตกรรมต่างๆ
              6. เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
              7. เผยแพร่ข่าวสารและแหล่งข้อมูลต่างๆ
              4.  ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญและหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน การใช้หลักสูตรในรูปแบบนี้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทแตกต่างกันดังนี้ คือ
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              1. กำหนดเป้าหมายของหลักสูตรและช่วยเหลือให้มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการศึกษาหน่วยต่างๆ
              2. ทำหน้าที่กระตุ้นให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
              3. สร้างบรรยากาศให้เกิดการสนับสนุนหน่วยงานท้องถิ่น
              4. ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินหรือวัสดุ
              5. เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
              บทบาทของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
              1. ทำหน้าที่กำหนดจุดหมายของหลักสูตร
              2. พัฒนาวัสดุหลักสูตรเพื่อใช้โปรแกรมการเรียนการสอน
              3. สร้างผู้นำทางวิชาการ
              4. ดำเนินการวิเคราะห์และติดตามผลการใช้หลักสูตร
              5. สร้างวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงโปรแกรมการเรียนการสอน
              6. แสวงหาแนวทางและเสนอประสบการณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนสำหรบท้องถิ่น
              6.2 บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
              กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการพิจารนาถึงบทบาทของหน่วยงานส่วนกลางซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ใช้หลักสูตรว่า หน่วยงานทั้งสองแห่งมีบทบาทในการพัฒนาและการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละรูปแบบ สำหรับหัวข้อนี้จะพิจารณาถึงบทบาทบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรว่า บุคคลในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ ควรจะมีบทบาทในการใช้หลักสูตรในลักษณะใดดังต่อไปนี้
                   1. ช่วยพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร และดำเนินการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร
                   2. ทำการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรในหน่วยงานที่ใช้หลักสูตร
                   3. ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการใช้หลักสูตรโดยการให้บริการวัสดุหลักสูตร และให้กำลังใจแก่ผู้นำหลักสูตรไปใช้
              1.  ผู้บริหารโรงเรียน ควรมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้หลักสูตรดังนี้
                   1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่โรงเรียนใช้อยู่อย่างชัดเจน
                   2. ให้บริการวัสดุ และสื่อการเรียนการสอนชนิดต่างๆ แก่ครู
                   3. ดำเนินการนิเทศ และติดตามผลการใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
                   4. กระตุ้นและส่งเสริมครูในการใช้หลักสูตรอย่างถูกต้อง เช่น การจัดอบรบ หรือจัดประชุมสัมมนา เป็นต้น
                   5. ให้กำลังใจและบำรุงขวัญแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ครูคนอื่นๆ
              2.  หัวหน้าหมวดวิชาหรือหัวหน้าสาขาวิชา ควรจะดำเนินการส่งเสริมการใช้หลักสูตรดังต่อไปนี้
                   1. ศึกษารายระเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองรับผิดชอบอย่างชัดแจ้ง
                   2. ช่วยวางแผนและจัดทำแผนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่ตนเองรับผิดชอบ
                   3. จัดหาวัสดุหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนและให้บริการแก่ครูคนอื่นที่อยู่ภายในสายเดียวกัน
                   4. ดำเนินการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองสม่ำเสมอ
                   5. ประสานงานการใช้หลักสูตรกับหมวดวิชาอื่น หรือสายวิชาอื่นเพื่อให้การใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
              3.  ครูผู้สอน ในฐานะเป็นผู้ใช้หลักสูตรโดยตรงมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้การใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพดังนี้
                   1. ศึกษาหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองใช้อยู่อย่างกระจ่างชัด
                   2. ปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
                   3. สอนให้ถูกต้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่ใช้
                   4. พยายามคิดค้นหาวิธีการที่เหมาะสมหรือวิธีการที่มีประสิทธิภาพและนำมาใช้
                   5. บุคลากรอื่นๆ ภายในโรงเรียน นักเทคโนโลยีทางการศึกษา นักวัดผลและนักแนะแนว ฯลฯ ต่างก็มีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรโดยกระทำดังนี้
                        5.1 ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างเต็มที่
                        5.2 ให้ความช่วยเหลือหรือบริการแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างเต็มที่ ถ้าหากบุคลากรทุกผ่ายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ ก็พอคาดการณ์ได้ว่าใช้หลักสูตรจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุดอันจะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้มากที่สุด


ที่มา : http://patthadon-dit9941.blogspot.com/2017/08/9.html
หนังสือเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตร(ดร.พิจิตรา  ธงพานิช)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น