วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรม(Activity) บทที่3 ประเภทหลักสูตร

      



      1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร

ตอบ



1. หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา ( The Subject Curriculum) หลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
2. หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชา ( Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
3. หลักสูตรแบบหมวดวิชาหรือสหสัมพันธ์ (The Broard Field Curriculum) จุดมุ่งหมาย ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503
4. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ (The Activities And Experience Curriculum) เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (The Social Process And Life Function Curriculum)  หลักสูตรนี้จะยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
6. หลักสูตรแกนกลาง (The Core Curriculum) หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
7. หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (The Individual Curriculum) จัดเนื้อหาตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล แนวคิดจาดปรัชญา อัตถิภาวนานิยม
8. หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum)  เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521


การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)


   การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
         การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร 
คือ การสร้างบ้าน การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน 
ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน 
เหมาะกับการใช้งาน 
   
    ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ 
3.กิจกรรมการเรียนการสอน 
4.การประเมินผล                                    

 ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน 
     กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
           1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ 
ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ 
ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
          2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ 
หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
          3. ความต่อเนื่อง  หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ 
ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้
ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
        
           4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง   การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง 
ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน 
เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.1 ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์
สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น
          5. การบูรณาการ    เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้
มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่ง
ไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
         6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหาและมีลำดับ
การเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้
 และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน 
ความสมดุลของหลักสูตรจึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ

ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
   ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
      การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ฮอลล์ (Hall.1962 
อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ ศรีพหล.2545 : 97 – 98) ได้กล่าวถึงประโยชน์
ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
          1.การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ 
การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น สามารถนำมา
เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
          2.การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา
 การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง 4 ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตร
ได้ดำเนินการ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น
 วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน และการประเมินผล
หรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
           3.การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว
 เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ 
การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน 
ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
          4.การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร
 เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้ โดยอาจจะไม่ต้อง
ใช้เวลามาจัดอบรม เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้
          5.การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น
 การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 
การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม
 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก



           2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ 
การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ "การพัฒนาหลักสูตร 
: การออกแบบหลักสูตร"

ตอบ

การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) ตามขั้นตอนของ SU Model เป็นสามเหลี่ยมรูปที่สอง ซึ่งจะนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ ที่ถามว่า มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ซึ่ง ปฏิบัติการ : การออกแบบหลักสูตร นี้ ได้ศึกษาเอกสารและมีองค์ความรู้ต่าง ๆ ดังนี้
1. โมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model)
Tyler ได้พัฒนาโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ หรือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ถือว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร จากหนังสือ Basic Principles of Curriculum and Instruction ของ Ralph W. Tyler (1949) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนการสอน โดยตั้งคำถามพื้นฐานไว้ 4 ข้อ ได้แก่
  • มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนต้องแสวงหา (What educational purposes should
  • มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ (What
  • จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ (How can these
  • จะประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร (How can we determine whether
the school seek to attain?) ได้กล่าวถึง การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียน ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ ที่โรงเรียนต้องนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
educational experiences can be provided that are likely to attain these purposes?) ได้นิยามความหมายของ ประสบการณ์การเรียนรู้ (learning experiences) หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสภาวะแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการพฤติกรรมเชิงรุกของนักเรียน และยังได้กล่าวถึงหลักการในการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
educational experiences be effectively organized?) การจัดการการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ ความต่อเนื่อง (continuity) การเรียงลำดับ (sequence) การบูรณาการหรือการเชื่อมโยง (integration)
these purposes are being attained?) การประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้ทราบว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่หรือไม่
ซึ่งคำถาม 4 ข้อนี้ เป็นคำถามที่จะนำไปสู่ ขั้นตอนในการออกแบบ คือ 1) การกำหนดจุดมุ่งหมาย 2) การออกแบบประสบการณ์ทางการศึกษา 3) การจัดประสบการณ์ทางการศึกษา 4) การประเมินประสิทธิผล
2. การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา
ต่อมาในปี 1962 Taba ได้เสนอลำดับขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเพื่อปรับปรุงโมเดลให้มีความชัดเจนขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 7 ขั้น ได้แก่
  • วิเคราะห์ความต้องการ
  • กำหนดจุดประสงค์
  • เลือกเนื้อหา
  • จัดการเนื้อหา
  • เลือกกิจกรรมการสอนเพื่อประสบการณ์ทางการศึกษา
  • จัดกิจกรรมการสอนเพื่อประสบการณ์ทางการศึกษา
  • ตรวจสอบความสมดุลและลำดับขั้นตอน
3. รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
3.1 รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา
Ellis (2004: 91-96) กล่าวว่า หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะของการศึกษาทางด้านศิลปศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาทางวิชาการ (academic education) ไม่ใช่ทางอาชีวศึกษา เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาและเหตุผล สร้างคนให้มีความรู้เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานให้สังคมประชาธิปไตย
ปรัชญาการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา คือ ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดว่า ความรู้ ความจริง และวัฒนธรรมของได้รับการเลือกสรรแล้วอย่างเหมาะสม หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ และปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism) ที่มีแนวคิดว่า เน้นการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและการใช้เหตุผล เนื้อหาสาระของสิ่งที่เรียน หลักสูตรใช้เนื้อหาวิชาเป็นสิ่งนำทางไปสู่ความสำเร็จทางปัญญา การเรียนการสอนเน้นที่จะสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์
การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเน้นสอนให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง
3.2 รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละบุคคลมากกว่าเนื้อหาสาระวิชา ดังนั้นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงไม่ใชหลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่เป็นหลักสูตรแห่งความสนใจและประสบการณ์ (Ellis, 2004: 43) นอกจากนั้นแล้ว Ellis ยังกล่าวว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมายของการจัดหลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกิดจากการที่นักเรียนค้นพบตนเองที่ไม่ใช่เป็นการค้นพบจากความรู้ภายนอก แต่เกิดจากค้นพบตนเองซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเพื่อค้นหาว่าตนเองเป็นใครและต้องการเป็นอะไรในอนาคต
ปรัชญาการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรที่เน้นผู้เรียน คือ ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มุ่งเน้นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง โดยให้เรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริง เป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม
การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี
3.3 รูปแบบการออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
หลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ เป็นการออกแบบที่เน้นปัญหาทางสังคมเป็นสาระ ไม่ใช่มองที่เนื้อหา วิชาเป็นสาระ ปัญหาสังคม ได้แก่ ปัญหาด้านการดำรงชีวิต ปัญหาชีวิต ปัญหาของชุมชน ปัญหาที่เป็นจริงในสังคมโลก ดังนั้น ถ้าโรงเรียนต้องการจัดหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ โรงเรียนต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักเรียนได้พบกับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในโลกใบนี้ ไม่ใช่ประเด็นปัญหาสมมติจากแบบเรียน การจัดหลักสูตรให้ดำเนินการเป็นการศึกษาสังคม (Social education) เน้นกระบวนการกลุ่มในการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน การสร้างทีม การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของการศึกษาในโรงเรียน (Ellis, 2004: 71-74) และ Ellis เห็นว่า นักเรียนเป็นผู้มีความสามารถและพร้อมที่จะปฏิรูปสังคม สะท้อนแนวคิดว่าหลักสูตรไม่ได้อยู่ในกำแพงอีกต่อไปแล้ว ต้องออกมาสู่ชุมชนสังคม ที่ซึ่งนักเรียนและครูสามารถที่จะเปลี่ยนโลกได้
ปรัชญาการศึกษาที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ ได้แก่ ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เป็นการนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปรับปรุงสภาพสังคม หรือเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม ดังนั้น หลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญมุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข
4. หลักการออกแบบหลักสูตร 7 ประการของสก๊อตแลนด์
การออกแบบหลักสูตร 7 ประการของสก๊อตแลนด์ มีหลักการดังต่อไปนี้ การออกแบบหลักสูตรต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งในระดับการจัดการและระดับชั้นเรียน กล่าวคือ การนำหลักสูตรไปใช้ต้องมีความต่อเนื่องในการตรวจสอบทบทวน การประเมินและปรับปรุงแก้ไข และในการนำไปใช้ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและพัฒนาการของแต่ละคนด้วย โดยมีหลักการพื้นฐาน 7 ประการ คือ
  • กระตุ้นความท้าทายและความพอใจ (Challenge and enjoyment)
  • ขยายขอบเขตความรู้ (Breadth)
  • ความก้าวหน้า (Progression)
  • ความคิดลึกซึ้ง (Depth)
  • บุคลิกภาพและทางเลือก (Personalisation and choice)
  • การเชื่อมโยง (Coherence)
  • ความสัมพันธ์ (Relevance)
5. แนวคิดการออกแบบหลักสูตร ที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอน ของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ
มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ได้เสนอหลักการที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนและการสอนไว้ว่า สถาบันการศึกษาควรจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับกิจกรรมการสอน จะสะท้อนผลการเรียนรู้ในเชิงบวก ส่งผลต่อทักษะ ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมของผู้เรียน แนวคิดนี้ประกอบด้วยหลักการ 7 ประการ ได้แก่
  • สร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีแรงจูใจและมีแรงกระตุ้นปัญญา
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหา การตั้งคำถามอย่างมีวิจารณญาณ และการมีความคิด
  • เน้นความสำคัญ ความเกี่ยวโยง และการบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้เพื่อพัฒนาไปสู่การแก้ปัญหาที่
  • ส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถระหว่างวัฒนธรรมที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน
  • คุณค่าและความทรงจำของแต่ละบุคคลและวัฒนธรรมที่หลาหลาย นำมาเป็นมาตรการในบริบทของการ
  • การเพิ่มการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่มีผลต่อประสิทธิผลของหลักสูตร การสอนและกลยุทธของการ
  • การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่องเป็นการพัฒนาวิชาชีพ
สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของผลการวิจัย
นำไปใช้ได้จริง
สนับสนุนและเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
ประเมิน
6. การออกแบบหลักสูตรรายวิชา ตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กแชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินส์เตอร์
เวสมินส์เตอร์ เอ็กแชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินส์เตอร์ ได้เสนอแนะการออกแบบหลักสูตรรายวิชา (Course design) ในลักษณะของคำถามเพื่อให้นักพัฒนาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรรายวิชา ดังนี้
  • ผู้ออกแบบคาดหวังว่าอะไรที่ช่วยให้หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จ
  • สถาบันการศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรรายวิชา
  • การประกันคุณภาพมีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอย่างไร
  • อะไรเป็นแบบจำลองที่ตรงกับความประสงค์ในการออกแบบหลักสูตร
  • อะไรเป็นจุดหมายและผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
  • การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างไร
  • อะไรเป็นกลยุทธในการเรียนรู้ การสอน และการประเมิน
  • จะต้องปรับพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะเรียนรายวิชาหรือไม่
  • จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร การวางแผนพัฒนาผู้เรียนในการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไร
  • หลักสูตรจะพัฒนาผู้เรียนที่มีความหลากหลายหรือไม่


          3.แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้ 
เปรียบเทียบหลักสูตรและเสนอแนวคิดแต่ละประเภทของ
หลักในการนำไปใช้

ตอบ


                                      






ที่มา : http://gittiphonkkd.blogspot.com/2016/03/curriculum-design.html
          https://www.kruchiangrai.net/2012/12/08/
         https://www.gotoknow.org/posts/599332

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น